วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Learning media 15



🌳🌳🌳🌳

Learning media 15





🌸🌸 The knowledge  🌸🌸
  
  วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาสอนเสริมประสบการณ์  

    กิจกรรมเสริมประสบการณ์เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ฟัง พูด สังเกต คิด มุ่งเน้นให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ ฝึกการทำงานและอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม ทั้งกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ และยังฝึกให้เด็กได้แก้ปัญหา ใช้เหตุผลและฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเรื่องและเนื้อหาที่เรียน โดยผ่านการจัดกิจรรมด้วย วิธีการหลากหลาย เช่น การสนทนา การอภิปราย การสาธิต การทดลอง การเล่านิทาน การเล่นบทบาทสมมติ การร้องเพลง การท่องคำคล้องจอง การทัศนศึกษาหรือศึกษานอกสถานที่ การเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ และการปฏิบัติการทดลองตามกระบวนการเรียนรู้





ดิฉัน นางสาวอินทิรา หมึกสี  สอนเรื่อง การเปรียบลักษณะขององุ่นกับส้ม  🍊🍊


🍊🍊แผนการสอนหน่วยผลไม้🍇🍇





  • กิจกรรม : เริ่มต้นด้วยการร้องเพลงเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก แล้วนำผลไม้ 2 ชนิด มาให้เด็กๆ สังเกตลักษณะและได้สัมผัสกับผลไม้ที่ครูเตรียมมา แล้วร่วมกันสรุปผลลงตารางวิเคราะห์ และสรุปความเหมือนและต่างของผลไม้ 2 ชนิดลงไดอาแกรม
  • สาระที่ควรเรียนรู้ : ผลไม้แต่ละชนิดมีความเหมือนและความแตกต่างกัน ทั้งลักษณะ สี กลิ่น และรูปร่าง
คำแนะนำของอาจารย์ :ควรเรียงลำดับจากส่วนประกอบไปก่อน และการเข้าสู่ขั้นสอน 





นางสาวอรุณวดี ศรีจันดา สอนหน่วย ร่างกายของเรา 👩👨




นางสาวปวีณา พันกุล สอนหน่วยสี  💛💜💚💙💓




นางสาวปริชดา นิราชรพจรัส สอนหน่วย อาหารที่มีประโยชน์ 🍓🍒🍑🍤🍭🍩🍨🍧 


นางสาวรุ่งฤดี โสดา สอนหน่วยกลางวันกลางคืน 🌙🌞🌕🌗🌗




นางสาวสุพรทิพย์ ดำขำ สอนหน่วย รูปทรง 🅸⛛⛔🗻🚩



Learning media 14

🌼🌼🌼

 Learning media 14 




🌸🌸 The knowledge  🌸🌸
             

  การเรียนการสอนวันนี้เป็นเรื่องของ  ไฮสโคปกับการส่งเสริม EF
กิจกรรมแรกที่อาจารย์ให้ทำคือการปรบมือตามจังหวะเพลง และแสดงท่าทางตามใจชอบ และเริ่มทำเป็นกลุ่มใหญ่คือทั้งห้อง อีกทั้งมีการจับคู่ และสลับกับเพื่อนที่คู่ด้วยแสดงท่าทางและทำตาม ถัดมาเป็นการแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มละ 10 คน และให้เพื่อนมายืนกลางวน 1 คน และแสดงท่าทางตอนถึงช่วงเพลงที่หยุด หลังจากนั้นเพื่อนก็เกาะไหล่ตามมา และทำแบบนี้ซ้ำๆ จนหมดกลุ่ม จากนั้นเป็นการทำกิจกรรมการใช้ประสาทสัมผัสและความจำในการเริ่มทำกิจกรรม โดยการเคาะกระดาษบนพื้น และมีการทำเป็นจังหวะ ต่อมาอาจารย์ให้เพิ่มจังหวะเข้ามาใหม่ เป็นการเคาะพื้น และมาตีที่เข่าซ้ายและส่งให้เพื่อนคนที่อยู่ทางด้านขวาของตัวเองและอาจารย์ให้หลับตาทำแบบนี้เช่นเดิม

Learning media 13


🌳🌳🌳🌳

Learning media 13




🌸The Knowledge Gained🌸


วันนี้อาจารย์การสอนวิทยาศาสตร์ สอนเรื่องง่ายๆรอบตัวเด็กก่อน เช่น น้ำ อากาศ ควันรถ
การสอนให้เห็นถึงรูปธรรมก่อน 



🔎ทักษะ EF ประกอบด้วย 9 ทักษะ🔎


1. ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory)

2. ทักษะการยั้งคิด (Inhibitory Control)

3. ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility)

4. ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus)

5.การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control)

6. การวางแผนและการจัดการ (Planning and Organizing)

7. การประเมินตนเอง (Self-Monitoring)

8. การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating)

9. มีความเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย (Goal-Directed Persistence)

 

🎵🎵อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำกิจกรรม โดยเริ่มจากทำกิจกรรมเป็นกลุ่มใหญ่และแบ่งเป็นกลุ่มเล็ก อาจรย์เปิดเพลงให้พวกเราทำกิจกรรม


 

 

 💬💬หลังจากนั้นอาจารย์ได้สอนพวกเราเรื่อง ไฮสโคป


🌸การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning)หลักการที่สําคัญของไฮสโคปในระดับปฐมวัย คือ การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานสําคัญในการพัฒนาเด็ก การเรียนรู้แบบลงมือกระทําจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดในโปรแกรมที่พัฒนาเด็กอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการ การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา หมายถึง การเรียนรู้ซึ่งเด็กได้จัดกระทํากับวัตถุ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล ความคิดและเหตุการณ์ จนกระทั่งสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

🌷 ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่และเด็ก (Adult-Child Interaction)
การเรียนรู้แบบลงมือกระทํานั้นจะประสบความสําเร็จได้ เมื่อผู้ใหญ่และเด็กมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ไฮสโคปจึงเน้นให้ผู้ใหญ่สร้างบรรยากาศที่อบอุ่นและปลอดภัยให้แก่เด็ก การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเด็กนั้นเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก เด็กจะกล้าพูด กล้าแสดงออก และกล้าปรึกษาปัญหา ผู้ใหญ่จะต้องใส่ใจแม้แต่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ และไม่เบื่อหน่ายที่จะตอบคําถามของเด็ก หรือป้อนคําถามให้เด็กเกิดความคิด จินตนาการ การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเด็กนั้นนับได้ว่ามีคุณค่ามากกว่าการยกย่อง ชมเชย การให้รางวัล

🌳 กลยุทธ์ในการสร้างบรรยากาศที่สนับสนุนการเรียนรู้
1. ผู้ใหญ่ให้โอกาสเด็กแสดงความคิดเห็นและลงมือปฏิบัติ มีส่วนร่วมกับเด็ก เปิดใจรับฟังความคิดเห็น รับรู้ความรู้สึก และความต้องการของเด็ก และเรียนรู้จากเด็ก
2. สนใจในความสามารถของเด็ก ค้นหาความสนใจของเด็ก มองสถานการณ์ในมุมมองของเด็ก ให้พ่อแม่และผู้ร่วมงานมีส่วนร่วมในสิ่งที่เด็กสนใจ วางแผนการเรียนการสอนโดยคํานึงถึงความสามารถและความสนใจของเด็ก
3. สร้างปฏิสัมพันธ์กับเด็กอย่างแท้จริง แบ่งปันสิ่งที่ตนเองมีกับเด็ก เช่น ตอบสนองความสนใจของเด็กด้วยความเอาใจใส่ ให้ข้อมูลสะท้อนกลับแก่เด็กอย่างถูกต้องและเหมาะสม ถามและตอบอย่างตรงไปตรงมา
4. ส่งเสริมการเล่นของเด็ก สังเกตและสนใจกับกิจกรรมการเล่นของเด็ก มีส่วนร่วมในการเล่นกับเด็กด้วยบรรยากาศที่สนับสนุน
5. ใช้วิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งขณะอยู่ร่วมกัน การแก้ปัญหาความขัดแย้งของเด็กๆ โดยคํานึงถึงความจริง ความมั่นคง และความอดทน จะช่วยให้เด็กรู้จักความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลที่ตามมา ปลูกฝังให้เด็กมีความรับผิดชอบ การทํางานร่วมกันระหว่างผู้ใหญ่และเด็กเพื่อช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้ง

🌼การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment)
การจัดสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัยมีความสําคัญต่อการพัฒนาและการเรียนรู้ของเด็ก ตามหลักการของไฮสโคปถือว่าสิ่งแวดล้อมเป็นเสมือนครูคนที่ 3 และเป็นส่วนหนึ่งของวงล้อการเรียนรู้ ซึ่งมีสาระครอบคลุม 3 เรื่อง ได้แก่ พื้นที่ สื่อ และการจัดเก็บ โดยแต่ละเรื่องมีรายละเอียด ดังนี้

⛔พื้นที่ (Space)
เด็กปฐมวัยเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทํา เด็กจึงต้องการพื้นที่ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ พื้นที่ในการใช้สื่อต่างๆ สํารวจ เล่นก่อสร้าง และแก้ปัญหา พื้นที่ในการเคลื่อนไหว พื้นที่ส่วนตัว พื้นที่สําหรับเล่นคนเดียวและเล่นกับผู้อื่น พื้นที่เก็บของใช้ส่วนตัว และจัดแสดงผลงาน พื้นที่สําหรับผู้ใหญ่ที่จะร่วมเล่นและสนับสนุนความสนใจของเด็ก การจัดแบ่งพื้นที่ภายในห้องเรียนจะประกอบด้วย 5 ส่วน ดังนี้
1. พื้นที่เก็บของใช้ส่วนตัวของเด็ก เช่น ผ้ากันเปื่อน แปรงสีฟันแก้วนํ้า ฯลฯ อาจจะเป็นตู้ยาวแยกเป็นช่องรายบุคคล หรือชั้นวางของเป็นช่องๆ โดยมีชื่อเด็กติดแสดงความเป็นเจ้าของ
2. พื้นที่กิจกรรมกลุ่มใหญ่ เช่น กิจกรรมฟังนิทาน ร้องเพลงเคลื่อนไหว ฯลฯ ที่ทําร่วมกันทั้งชั้นเรียน
3. พื้นที่กิจกรรมกลุ่มย่อย เช่น กิจกรรมศิลปะร่วมมือ กิจกรรมทําหนังสือนิทานร่วมกันเป็นกลุ่มย่อย กิจกรรมเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ฯลฯ โดยสมาชิกกลุ่มที่เหมาะสม คือ 4-6 คน ทั้งนี้เพื่อครูจะได้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์ได้ใกล้ชิดและทั่วถึงมากขึ้น
4. พื้นที่สําหรับมุมเล่น ไฮสโคปได้กําหนดให้มีมุมพื้นฐาน 5 มุม ประกอบด้วย มุมหนังสือ มุมบล็อก มุมบ้าน มุมศิลปะ และมุมของเล่นซึ่งหมายถึงเครื่องเล่นสัมผัส เกมและของเล่นบนโต๊ะ ทั้งนี้ ไฮสโคปมีหลักการเรียกชื่อมุมต่างๆ ด้วยภาษาที่เด็กเข้าใจ จะไม่ใช้ภาษาซึ่งเป็นนามธรรมมากๆ เช่น มุมบทบาทสมมติ มุมเครื่องเล่นสัมผัส นอกจากนี้ ไฮสโคปเชื่อว่ามุมเล่นต้องเปลี่ยนแปลงไปตามความสนใจของเด็ก เช่น เมื่อเด็กเกิดความสนใจหลากหลายมุมบ้านก็อาจปรับเปลี่ยนเป็นมุมร้านเสริมสวยมุมหมอ หรือมุมร้านค้าได้ตามบริบทของสิ่งที่เด็กสนใจในขณะนั้น
5. พื้นที่เก็บของใช้ครู เช่น หนังสือ คู่มือครู เอกสารโปรแกรมสื่อการสอนส่วนรวมของชั้นเรียน เช่น วัสดุศิลปะต่าง ๆ เป็นต้น

🏀การจัดเก็บ (Storage)ไฮสโคปให้ความสำคัญกับระบบจัดเก็บสื่อด้วยวงจร "ค้นหา-ใช้-เก็บคืน" (Find-Use-Return Cycle) ตามกรอบแนวคิด ดังนี้
1. สื่อที่เหมือนกันจัดเก็บหรือจัดวางไว้ด้วยกัน
2. ภาชนะบรรจุสื่อควรโปร่งใสเพื่อให้เด็กมองเห็นสิ่งที่อยู่ภายในได้ง่าย และควรมีมือจับเพื่อให้สะดวกในการขนย้าย
3. การใช้สัญลักษณ์ (Labels) ควรมีความหมายต่อการเรียนรู้ของเด็ก สัญลักษณ์ทํามาจากสื่ออุปกรณ์ของจริง ภาพถ่ายหรือภาพสําเนาภาพวาด ภาพโครงร่างหรือภาพประจุด หรือบัตรคําติดคู่กับสัญลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ไฮสโคปเชื่อว่าวงจร "ค้นหา-ใช้-เก็บคืน" ส่งเสริมการเรียนรู้ เพราะเด็กๆ ได้ฝึกการสังเกต เปรียบเทียบ จัดกลุ่ม เด็กได้สั่งสมประสบการณ์ส่งเสริมความรับผิดชอบ รู้จักมีนํ้าใจช่วยเหลือ เป็นการเรียนรู้ทางสังคม ดังนั้น ครูจึงควรจัดเวลา "เก็บของเล่น" ทุกวันอย่างเพียงพอ มีสัญญาณเตือนก?อนเวลาจะสิ้นสุด ครูควรช่วยเด็กเก็บของเล่นเพื่อเป็นแบบอย่างและทําให้เด็กสนุกสนาน ครูต้องไม่ใช้การเก็บของเล่นเข้าที่เป็นการลงโทษเด็ก
นอกจากนี้สื่อจะต้องจัดวางไว้ในระดับสายตาเด็ก (Eye-level)เพื่อให้เด็กมองเห็นได้ชัดเจน สามารถหยิบใช้และจัดเก็บได้ด้วยตนเองไม่ใช้อยู่สูงจนเป็นอันตรายเวลาเอื้อมหยิบ หรือต้องพึ่งพาผู้ใหญ่ให้หยิบให้ตลอดเวลา





Learning media 12



 🌼🌼🌼🌼

Learning media 12




วันนี้ไม่มีการเรียน เนื่องด้วย วันที่ 4 และ 5 พฤศจิการยน 2562
คณะรัฐมนตรีจะมีการประชุมสุดยอดอาเซียน
เพื่อลดปัญหาการจราจรและอำนวยความสะดวก
มหาวิทยาลัยจึงขอประกาศเป็นวันหยุดพิเศษ




Learning media 11


💓💓💓


Learning media 11




👉 The Knowledge👉
              การเรียนในวันนี้ เป็นการเรียนจากวิทยากร ซึ่งเคยเป็นอาจารย์ประจำสาขาการศึกษา ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม ผู้ช่วยศาสตรจารย์ กรรณิการ์  สุสม 
และเป็นการเรียนการเรียนที่นำทั้งสองเซกมารวมกันเพื่อให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับหัวข้อเรื่อง 👉สารนิทัศน์
ก่อนเข้าสู่เนื้อหาการเรียน อาจารย์จินตนาแจกกระดาษนักศึกษาคนละ 1 แผ่น ให้นักศึกษาเขียนว่า
💚💚คนเป็นครูที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร : ซึ่งคำตอบของแต่ละคนก็แตกต่างกันออกไปตามความรู้สึกและความเข้าใจของตัวนักศึกษาเอง
ต่อมาเป็นการเข้าเรียนกับท่านวิทยากร ผศ.กรรณิการ์ เริ่มด้วยกิจกรรมออกกำลังกาย (ละลายพฤติกรรม) เพื่อให้เกิดการปรับตัวให้เกิดความคุ้นชินกัน และอาจารย์กรรณิการ์ก็แจกกระดาษให้นักศึกษาเขียนว่า
👉👉เป้าหมายในการมาอบรม : ว่าจะได้ความรู้ หรือคาดหวังว่าอย่างไรในการมาอบรมครั้งนี้
และเป็นการร้องเพลงพร้อมทั้งเต้นประกอบเพลง บอกว่าน่ารัก เพลงเก็บเด็กเข้าที่ ฝนเทลงมา ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นเป็น เทคนิคการสอน การเก็บเด็ก การพูดเชิงบวก สบสายตา วาจาสร้างสรรค์

💬💬ความหมายสารนิทัศน์
          สารนิทัศน์ มาจากคำว่า “สาระ” หมายถึง ส่วนสำคัญ ถ้อยคำ มาผสมกับคำว่า
“นิทัศน์” หมายถึงตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็นดังนั้น “สารนิทัศน์”จึงมีความหมายว่า ส่วนสำคัญที่นำมาเป็นตัวอย่างแสดงให้ผู้อื่นเห็น ในทางการศึกษาปฐมวัยมีคณาจารย์นำสารนิทัศน์มาใช้อย่างหลากหลาย
โดยสารนิทัศน์ให้ประโยชน์ต่อการแสดงภาพของเด็กโดยกระบวนการด้านเอกสารข้อมูลอย่างชัดเจน ดังนั้น การจัดทำสารนิทัศน์ จึงหมายถึง การจัดทำข้อมูลที่เป็นหลักฐานหรือแสดงให้เห็นร่องรอยของการเจริญเติบโต พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจากการทำกิจกรรม ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มซึ่งหลักฐานและข้อมูลดังกล่าวที่บันทึกเป็นระยะๆ จะเป็นข้อมูลอธิบายภาพเด็ก ที่บ่งบอกถึงพัฒนาการของเด็กได้ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคมสติปัญญา และแม้แต่สุขภาพ

คุค่สำคั
          เพื่อพัฒนาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย โดยการไตร่ตรองและสะท้อนความคิด และการประเมินตนเอง   พัชรี ผลโยธิน , 2542 : Helm , Benekc and Steinheimer 1998. กล่าวว่า
          1. สารนิทัศน์การเรียนรู้ของเด็กสามารถสนองความต้องการในการประกันคุณภาพการจัดการศึกษาในสถานศึกษา
          2.ครูที่จัดทำสารนิทัศน์มักจะสอนผ่านเด็กประสบการณ์การณ์ตรง
          3.ช่วยให้การสอน หรือการทำงานของครูมีประะสิทธิภาพ
          4.ช่วยให้ครูจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการ และศักยภาพของเด็ก
          5.เด็กรับรู้ความสำคัญและคุณค่าของการเรียนรู้
          6.ช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจพัฒนาการ และการเรียนรู้ของเด็ก,การจัดประสบการณ์การเรียนการสอนของครู และบทบาทของครู

💬รูร่นิทัน์
          แบ่งออกได้ 2 รูแปบบ 
คือ      1.หลักฐานเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กแบบเป็นภาพรวมทั้งชั้นเรียน
           2.หลักฐานเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กแบบเป็นรายบุคคล
👉กิจกรรมหลัก 4 กิจกรรมของกระบวนการเรียนรู้โดยใช้วิธีการไตร่ตรองสารนิทัศน์
             1.กิจกรรมการเก็บรวมรวมหลักฐาน
             2.กิจกรรมแบบไตร่ตรองสะท้อนความคิด
             3.กิจกรรมการนำเสนอความก้าวหน้าในการเรียนรู้
             4.กิจกรรมประชุมกลุ่มย่อยและประชุมกลุ่มใหญ่

👉ปนิทัน์
              1.บทสรุปโครงการ
              2.การสังเกตพัฒนาเด็ก บันทึกพฤติกรรมเด็ก (บันทึกสั้น)
              3.พอร์ตฟอลิโอ
              4.1 ผลงานเด็กรายบุคคล
              4.2 ผลงานเด็กแบบกลุ่ม
              5.การสะท้อนตนเอง

😍😍คำถามที่ครูควรใช้ถามเด็กปฐมวัย 
               แยกเป็น 2 ประเภท
1.1 คำถามให้สังเกต เช่น
      1.คำถามให้สังเกต  เช่น  จากการที่ครูผ่าส้มผลนี้เด็ก ๆ เห็นอะไรบ้าง/ในรูปนี้เด็กเห็นอะไรบ้าง
      2.คำถามทบทวนความจำ  เช่น  แมวมีกี่ขา/เมื่อวันจันทรฺเราฟังนิทานเรื่องอะไร
      3.คำถามให้บอกความหมายหรือคำจำกัดความ  เช่น  สัตว์เลี้ยง หมายความว่าอะไร
      4.คำถามบ่งชี้  เช่น  เด็ก ๆ คิดว่าใครผมสั้นที่สุดในห้องเรียนของเรา
1.2 คำถามเพื่อการคิดค้นและขยายความคิด เช่น
      1.คำถามให้อธิบาย  เช่น  เด็กนักเรียนมีหน้าที่อย่างไร/ทำไมเด็ก ๆ จึงไม่ควรวิ่ง
      2.คำถามให้เปรียบเทียบ  เช่น  สุนัขจิ้งจอกแตกต่างจากสนุขบ้านอย่างไร
      3.คำถามจำแนก  เช่น  เด็ก ๆ มีตุ๊กตากี่ชนิด/อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้นไม้ตาย
      4.คำถามให้ยกตัวอย่าง  เช่น  สัตว์เลี้ยงในบ้านมีอะไรบ้าง/ผลไม้อะไรมีรสเปรี้ยว
      5.คำถามให้สรุป  เช่น  นิทานเรื่องนี้สอนเด็ก ๆ ในเรื่องใดบ้าง/ฟังเรื่องราวนี้เด็ก ๆ รู้สึกอย่างไร
      6.คำถามให้ประเมินหรือตัดสินใจ  เช่น  ถ้าเด็ก ๆ เลือกได้ เด็ก ๆ อยากเป็นใครในนิทาน

 การประเมินพัฒนาการทางการคิดของเด็กปฐมวัย
      1. ประเมินตามสภาพจริง ได้แก่  -ประเมินพฤติกรรมที่แสดงออก   -ประเมินผลงานและชิ้นงาน
       2. ประเมินโดยการทดสอบ  โดยใช้แบบวัด  เช่น  แบบทดสอบ ความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ ของเจอร์รัล เออร์บัล เป็นต้น

 การใช้ผังกราฟฟิกเพื่อพัฒนาการคิดของเด็กปฐมวัย
          เป็นรูปแบบของการแสดงออกทางความคิด ที่สามารถมองเห็นและอธิบายได้อย่างเป็นระบบชัดเจน  ซึ่งประกอบไปด้วยความคิด หรือข้อมูลสำคัญ ๆ ที่เชื่อมโยงกันในรูแปบบต่าง ๆ และเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เรียนจัดข้อมูลที่กระจายอยู่ให้เป็นระบบ ระเบียบ ง่ายต่อการทำความเข้าใจและช่วยให้จดจำได้นาน

💛Teaching Methodes 💛
         การสอนจากวิทยากรภายนอก ส่งผงฃลให้นักศึกษาเกิดการเปิดโลกทัศน์ใหม่ ๆ ในด้านต่าง ๆ และทำให้การเรียนมีความสนุกสนาน เนื่องด้วยท่านวิทยากรที่มานั้น มีรูปแบบ เทคนิคการสอนที่เป้นกันเอง ส่งผลทำให้นักศึกษาเกิดความสนุกสนาน สนุกกับการเรียน และเนื้อหาในการเรียนรู้ในครั้งนี้เป็นสิ่งที่เรียนมาบ้างแล้วแต่ไม่ได้ลงลึก

 💜Apply 💜
         การนำรูปแบบต่างๆของสารนิทัศน์ไปใช้เขียนเนื้อหาให้มีความครบถ้วน อีกทั้งการใช้กราฟฟิกต่าง ๆ ให้มีความหลากหลาย ให้เด็กเกิดการคิดอย่างเป็นองค์รวมพร้อมทั้งเป็นการจัดระเบียบของข้อมูลด้วย
🌼🌼 ภาพกิจกรรม🌼🌼